วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน 

ครั้งที่ 3

วันศุกร์  ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

    เนื้อหาที่เรียน    
  • สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้    

  1. จำนวนเเละการดำเนินการ มีความคิดเชิงคณิต จำนวนบับ 1-20 เข้าใจหลักการนับ รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก เลขไทย รู้ค่าของจำนวน เปรียบเทียบ เรียงลำดับ การรวมเเละการแยกกลุ่ม                                                         
  2. การวัด รู้จักควาวยาวน้ำหนัก ปริมาตร รู้จักเงินเหรียญ ธนบัตร เข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  3. เรขาคณิต ตำเเหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเลขาคณิตสามมิติ
  4. พีชคณิต มัความรู้เกี่ยวกับรูปร่าง รูปทรง ขนาด
  5. การวิเคราะห์ข้องมูลเเละความน่าจะเป็น
  6. ทักษะเเละกระบวนการทางคณิต       
ทักษะ/การระดมความคิดประเมิน







  • เราสามารถที่จะใช้เพลงในการสอนคณิตได้ อย่างเช่น การรู้จักเวลาจากเพลง การจัดลำดับ การนับจำนวน เป็นต้น

บรรยากาศในห้องเรียน
  • บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบยังไม่ค่อยมีการตอบสองกับอาจารย์ในการตอบคำถาม   
การจัดการเรียนการสอน
  • ควรจัดลำดับในการเรียนให้ดี
 วิเคราะห์ตนเอง
  • ยังไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์อธิบาย เเต่ก็ตั้งใจฟังอย่างเต็มที่เเล้ว 

                                                     

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทำอย่างไรเมื่อลูกยังไม่เข้าใจเรื่องจำนวนและค่าของเลข



1. ทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่จับต้องได้
                การเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กๆ นั้น ก่อนอื่นต้องลืมเรื่องแบบฝึกหัดไปก่อนเลยนะคะ โดยเฉพาะเมื่อลูกยังไม่แม่นยำเรื่องของจำนวนและค่าของเลข  ความเข้าใจของลูกจะเริ่มที่การลงมือปฏิบัติการกับคณิตศาสตร์กับสิ่งรอบๆ ตัว   เริ่มต้นที่ 1-3 ให้แม่นยำก่อนนะคะ  อย่างเช่น "วันนี้ลูกเอาไส้กรอกไป 2 ชิ้น แม่ 2 ชิ้น ของคุณพ่อเอากี่ชิ้นดีคะ" ชวนลูกนับไปด้วย กินไส้กรอกไปด้วย  ทำเช่นนี้บ่อยๆ กับเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจำนวน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนับจำนวนชิ้นของขนม ของเล่น  กิ๊บ  หมอน สารพัดที่จะนับให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำกันในบ้าน  นับกันอยู่บ่อยๆ ลูกก็จะค่อยๆ ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับค่าและจำนวนในที่สุด จากนั้นก็ขยายจาก 3 ไป 5 ไป 10  สิ่งสำคัญคุณแม่อย่าทำตัวเป็นคุณครูกำลังสอนหรือกำลังทดสอบคณิตศาสตร์นะคะ  แต่ให้เป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบธรรมชาติในสไตล์ของคุณแม่เอง

2. ทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและท้าทายความสามารถ
                ด้วยวัยของลูกนั้น ลูกเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่นและทำกิจกรรม  ดังนั้น ในการฝึกฝนให้ลูกคุ้นเคยกับตัวเลข และจำนวนนั้น คุณแม่อาจหาของเล่นที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาให้ลูกเล่น เช่น ต่อจิ๊กซอว์ตัวเลขกับภาพ  สวมหมุดเท่ากับจำนวนตัวเลข  นอกจากนี้คุณแม่กับคุณพ่ออาจจะช่วยกันคิดเกมคณิตศาสตร์ง่ายๆ เล่นกับลูก เช่น ทำบัตรตัวเลข 1-5 แล้วผลัดกันหยิบของมาใส่ตะกร้าเท่ากับจำนวนตัวเลข  ให้ลูกอ่านตัวเลขป้ายทะเบียนรถคันหน้ารถเรา เมื่ออ่านคล่องแล้ว ก็ชูนิ้วตามจำนวนนั้น (ปล่อยให้คุณแม่เล่นกับลูกไป ส่วนคุณพ่อก็ขับรถต่อไป เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน)  เล่นชูป้ายตัวเลขหรือทอยลูกเต๋าแล้วกระโดดเท่ากับจำนวน  เล่นกำลูกปัดแล้วทายจำนวน หรือหยิบบัตรตัวเลขเท่ากับจำนวนลูกปัด  เกมผลัดกันนับเลข บอกเลขมากกว่าน้อยกว่า เขียนตัวเลขแล้ววาดรูปเท่าจำนวนนั้น  และเกมอีกมากมายที่คิดกันขึ้นมาในครอบครัว การเล่นเกมนั้นลูกจะสนุกขึ้นถ้าเขาได้ผลัดมาเป็นคนถาม หรือคนนำเกมบ้าง  การเล่นเกมทางคณิตศาสตร์ถือเป็น Brain Exercise ฝึกบ่อยๆ สมองของลูกจะคิดได้อย่างคล่องแคล่วทีเดียวค่ะ


                        สรุปวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ชื่องานวิจัย ทักษะพื้นนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ
ปริญญานิพนธ ของ พิจิตรา เกษประดิษฐ

การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดวอง เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัยกอนและหลังการทำกิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน  และเปน แนวทางสําหรับครู ผูปกครองและผูที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะชวยสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรแกเด็กปฐมวัยไดอยางเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัยโดยสรุป ดังนี้

ความมุงหมายของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ

ความสําคัญของการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สําหรับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการนํากิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ไปใชเพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ของเด็กปฐมวัยอีกวิธีหนึ่ง

ขอบเขตของการวิจัย 
ประชากร 
ประชากรที่ใชในการวิจัยครั้งนี้เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปซึ่งกําลังศึกษา อยูในชั้นอนุบาลปที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุกไก สังกัด สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร จํานวน 81 คน

กลุมตัวอยาง
 กลุมตัวอย่างที่ใช ในการวิจัยครั้งนี้เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปซึ่งกำลัง ศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จํานวน 20 คน

ตัวแปรที่ศึกษา 
ตัวแปรตน คือการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ
 ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

สมมติฐานของการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรสูงขึ้น

การดําเนินการทดลอง
1. ทําการทดสอบกอนการทดลอง (Pretest) กับกลุมตัวอยาง โดยใชแบบทดสอบวัดทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตรที่ผูวิจัยสรางขึ้น
 2. ผูวิจัยดําเนินการทดลองดวยตนเอง โดยกลุมตัวอยางจะไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค ดวยขนมอบ ซึ่งทำการทดลองในกิจกรรมสรางสรรคใชระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาหสัปดาหละ 3 วัน วันละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที รวมทงสั้ นิ้ 24 ครั้ง 63 
3. หลังการเสร็จสิ้นการทดลอง ผูวิจัยทําการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุม ตัวอยาง โดยใชแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใชกอน การทดลองแลวตรวจใหคะแนนตามเกณฑที่กําหนด 
4. นําคะแนนที่ไดจากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรมาทําการวิเคราะหขอมูล

การวิเคราะหขอมูล
1. คะแนนที่ไดจากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรกอนและหลังการทดลอง นํามา หาคาสถิติพื้นนฐาน โดยนําขอมลไปหาค ู าคะแนนเฉลยี่ (Mean) และคาความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
 2. เปรียบเทียบความแตกตางของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรกอนและหลังการทดลอง กิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ โดยใชสถิติ t-test สําหรับ Dependent Samples

สรุปผลการวิจัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรทั้งโดยรวมและรายดานของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูง กวากอนการทดลองทํากิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบอยางมีนัยสาคํ ัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งตอไป 
1. ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ที่มีตอพัฒนาการ ดานอื่นๆ ของเด็กปฐมวัย เช่น ความสามารถดานความคิดแกปญหา ทกษะทางภาษาส่งเสริมพัฒนาการ ดานกลามเนื้อมัดเล็กและลีลามือ เปนตน
 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบในกลุมตัวอยาง อื่นๆเชน กลุมตัวอยางในโรงเรียน สังกัดการศึกษากรุงเทพมหานครกลุมตัวอยางในโรงเรียน สงกั ัด สํานักงานการศึกษาขึ้นพื้นฐาน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Pigitra_K.pdf


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน 

ครั้งที่ 2

วันศุกร์  ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559


เนื้อหาที่เรียน 
  • อาจารย์ให้เเจกกระดาษให้คนละหนึ่งแผ่น เเต่วิธีการเเจกนั้นมาพร้อมกับโจทย์คือให้เเต่ละคนหยิบทีละหนึ่งแผ่นเพื่อที่จะได้นับดูว่ากระดาษมากกว่าน้อยกว่าคน หรือคนมากว่าน้อยกว่า หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอน ให้รู้จักคำว่า การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยทำเป็นmild mapping เเล้วนำเเต่ละคำมาเเยกออกจากกัน เพื่อหาคำเเต่ละคำมาเชื่อมโยงกันกัน
ทักษะ/การระดมความคิดประเมิน
  • การได้ใช้ความคิดหาความหมายของคำว่าพัฒนาการ การหาวิธีการเชื่อมต่อคำที่เกี่ยวข้องกันเเต่ละคำ
บรรยากาศในห้องเรียน
  • บรรยายกาศในห้องค่อนข้างเงียบยังไม่กล้าสนทนาหรือเเสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถาม
การจัดการเรียนการสอน
  • การเรียนยังไม่ค่อยเครียดสนุกสนาน อาจาเป็นเพราะยังไม่เข้าสู่บทเรียนที่แท้จริง 
วิเคราะห์ตนเอง
  • เราสามารถนำวิธีการสอนที่อจารย์สื่อให้เราเห็นว่าการสอนคณิตศาสตร์นั้นสามารถสอนร่วมกันกับกิจกรรมที่ให้ทำเป็นจำก็ได้ เช่นการเเจกกระดาษของอาจารย์ที่แฝงอยูกับโจทย์คณิตศาสตร์ 


สรุปวีดีโอตัวอย่างการสอน
  • การเรียนการสอนขั้นระดับพื้นฐาน ระดับปฐมวัย ที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮมมีวิธี คือ ครูที่นี่จะสอนเด็กให้เรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคล โรงเรียนจะมีปรัชญาในการเรียนรู้พื้นฐานว่า จุดเริ่มต้นของการเรียนนั้นต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็กเเละคิดว่าถ้าทำให้เด็กมั่นใจกับการคิดเลข การนับเลขตั้งเเต่เนิ่นๆนั้นจะมีผลต่อมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ของโรงเรียน เเต่จะได้ผลรึปาวนั้นต้องขึ้นอยู่กับวิธีการสอนของครู สิ่งที่ครูพยายามตั้งเเต่อนุบาลคือปูพื้นฐานคณิตศาสตร์ให้เเน่นเเละให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน ครูบางคนจะสังเกตเด็กจะมักพูดว่า เขาไม่เก่งคิด ซึ่งส่วนใหญ่มากจากผู้ปกครองที่บอกตัวเองว่าไม่เก่งคณิตศาสตร์ เเละถ่ายทอดความกลัวนั้นให้ลูก ครูจึงจะพยายามทำให้คณิตศาสตร์นั้นไม่ใช่เริ่องใหญ่สำหรับเด็กเเต่จะทำเป็นเรื่องที่เราต้องทำเป็นทุกวัน ครูเนิรัสเชอรีเล่าว่า ตอนเเรกก็ให้เด็กสนใจเรื่องตัวเลข รูปร่างหรือทำกิจกรรมที่มีเรื่องพวกนี้อยู่รวมด้วย หลังจากนั้นเด็กก็จะเริ่มคุ้ยเคยกับตัวเลขเเละการนับ การจัดกิจกรรมเเต่ละครั้งนั้นครูต้องรู้ก่อนว่าอยากให้เด็กได้อะไรจากมัน เเล้วปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำกิจกรรมนั้นด้วย ครูเนิรัสเชอรีจะพยายามใช้เพลงเป็นสื่อการสอนเพราะเด็กสามารถร่วมร้องไปได้เเละมีท่าทางประกอบซึ่งช่วยการเรารู้มีความหลากหลายมากขึ้น โรงเรียนจะให้ครูช่วยมากกว่าที่ครูจะไปเป็นผู้นำเด็ก การเรียนคณิตศาสตร์นั้นสามารถเรียนนอกห้องเรียนได้จะทำให้เด็กนั้นเห็นอะไรในภาพใหญ่ขึ้นได้เห็นคณิตศาสตร์ในอีกด้านหนึ่ง การเล่นนอกห้องนั้นจะเห็นได้ว่าโรงเรียนได้พัฒนาไปอีกขั้นเเล้ว เเต่ก่อนนักเรียนคงใช้กระดาษ ดินสอการเรียนแบบนี้จะทำให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้น เเต่สิ่งที่ท้ายทายใหม่ๆที่สุดของครูคือจะต้องคอยสังเกตและติดตามพัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะได้รู้ว่าขั้นต่อไปครูจะทำอย่างไรกันบ้าง เเละยังได้รู้อีกว่าเด็กนั้นมีพัฒนาการสำเร็จไปถึงขั้นไหนเเล้ว ครูก็ใช้ข้อมูลแหล่งนี้เพื่อไปวางแผนทำการเรียนการสอนต่อ ครูยังสามารถนำข้อมูลไปบอกกับผู้ปกครองได้ด้วยว่าเด็กเเต่ละคนเป็นยังไง ครูเนิรัสเชอรีเชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กๆได้
  • สามารถดูวีดีโอการสอนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=eftDXPGKtMs  

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน 

ครั้งที่ 1

วันศุกร์  ที่ มกราคม พ.ศ. 2559



เนื้อหาที่เรียน 

  • อาจารย์เเจกกระดาษให้เขียนลักษณะเด่นของตนเอง เเล้วอาจารย์ก็จะดููุูลักษณะแล้วทายว่าเป็นลักษณธเด่นของเด็กคนไหน เพื่อที่เราจะได้ใช้วิธีการนี้จดจำเด็กเเต่ละคน
  • โดยที่อาจารย์ให้ปัญหามาคือ ให้กระดาษ 1แผ่นให้เเบ่งกัน 3คน เเล้วถามนักศึกษาว่าจะมีวิธีการไหนบ้างที่จะเเบ่งกระดาษไม่ให้ยุ่งยาก ซึ่งนี่เป็นวิธีการการเเก้โจทย์ปัญหา ดิฉันตอบว่า ให้เพื่อนจับกลุ่ม 3คนเเล้วไปรับกระดาษ เเต่ก็มีเพื่อนตอบว่า ให้เพื่อน คนที่ 1 หยิบกระดาษเเล้วฉีกของตัวเองไว้เเล้วส่งให้เพื่อนฉีกต่อ ส่งไปจนจะครบคน แต่อาจารย์ก็มีวิธีที่ง่ายกว่านั้นคือ นับจำนวนคนทั้งหมดว่าใช้กระดาษกี่ส่วน เเล้วค่อยนับกระดาษหยิบกระดาษเเผ่นใหญ่ฉีกเเจกให้เพื่อน วิธีนี้จะเเสดงให้เห็นว่าเป็นวิธีที่ง่ายสุด เรื่องนี้เราสามารถสอนเด็กในเรื่อง การบวกลบ

ทักษะ/การระดมความคิดประเมิน
  • หาวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาได้ 
บรรยากาศในห้องเรียน
  • ห้องเรียนสามารถใช้อุปกรณ์การเรียนได้อย่างไม่ติดๆขัดๆ ถือว่าดีมากค่ะ
การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์ก็จัดการเรียนการสอนที่สบายๆไม่เครียด มีการให้นักศึกษาพูดตอบโต้ เพื่อที่จะได้เเลกเปลี่ยนความคิด เเละเปิดโอกาสให้ได้กล้าพูดมากขึ้น
วิเคราะห์ตนเอง
  • เรียนวันแรกมาสายค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์ เข้าใจกับสิ่งที่อาจารย์สอน